ขอความร่วมมือสถานศึกษาเฝ้าระวังโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส
องค์การอนามัยโลก (WHO: องค์การอนามัยโลก) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 30มิถุนายน 2558 จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 26 ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน1,357ราย เสียชีวิต 486ราย
ส่วนในประเทศเกาหลีใต้ รายงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 182 ราย เสียชีวิต 33 รายโดยเป็นผู้ป่วยที่เดินทางไปประเทศจีน 1 ราย
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 24มิถุนายน 2558 รวมแล้ว ผู้ป่วย 1,373ราย เสียชีวิต 528ราย โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จาก 26ประเทศ ดังนี้ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน โอมาน คูเวต อียิปต์ เยเมน เลบานอน อิหร่าน ตุรกี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ เนเธอร์แลนด์ ออสเตเรียตูนีเซีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีนและไทย
สถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง จำนวน 1 ราย เป็นชายชาวตะวันออกกลาง เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด วันนี้ (30 มิถุนายน) ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้และรับการรักษาอยู่ห้องแยกโรค ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คน อาการปกติทั้งนี้มีการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดและมีการใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายโรคอย่างสูงสุด ประเทศไทยได้มีระบบเฝ้าระวัง ตรวจจับโรคดังกล่าวอย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง
โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติมและจากการเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2558 มีผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทยและมีอาการสงสัยอยู่ในเกณฑ์การสอบสวนโรครวม 131 ราย ในจำนวนนี้ กลับจากเกาหลีใต้ 69 ราย จากตะวันกลาง 62 ราย ทุกรายผลการตรวจไม่พบการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/271
องค์การอนามัยโลก (WHO: องค์การอนามัยโลก) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 30มิถุนายน 2558 จากรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 26 ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน1,357ราย เสียชีวิต 486ราย
ส่วนในประเทศเกาหลีใต้ รายงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 182 ราย เสียชีวิต 33 รายโดยเป็นผู้ป่วยที่เดินทางไปประเทศจีน 1 ราย
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 24มิถุนายน 2558 รวมแล้ว ผู้ป่วย 1,373ราย เสียชีวิต 528ราย โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จาก 26ประเทศ ดังนี้ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน โอมาน คูเวต อียิปต์ เยเมน เลบานอน อิหร่าน ตุรกี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ เนเธอร์แลนด์ ออสเตเรียตูนีเซีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ จีนและไทย
สถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า พบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง จำนวน 1 ราย เป็นชายชาวตะวันออกกลาง เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด วันนี้ (30 มิถุนายน) ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ รับประทานอาหารได้และรับการรักษาอยู่ห้องแยกโรค ส่วนผู้สัมผัสที่เป็นญาติ 3 คน อาการปกติทั้งนี้มีการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดและมีการใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายโรคอย่างสูงสุด ประเทศไทยได้มีระบบเฝ้าระวัง ตรวจจับโรคดังกล่าวอย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง
โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2558 ยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติมและจากการเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2558 มีผู้เดินทางเข้ามาประเทศไทยและมีอาการสงสัยอยู่ในเกณฑ์การสอบสวนโรครวม 131 ราย ในจำนวนนี้ กลับจากเกาหลีใต้ 69 ราย จากตะวันกลาง 62 ราย ทุกรายผลการตรวจไม่พบการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/271
ข่าวด่วน
ศอ.บต.รับสมัครคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีขององค์กรศาสนาประเทศอินโดนีเซีย (Muhammadiyah) สำหรับนักเรียนมุสลิมใน จชต. ประจำปีการศึกษา 2558
ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน- 3 กรกฎาคม 2558
รายละเอียด คลิีกดู
http://www.sbpac.go.th/index.php/2014-11-27-04-12-16/2015-04-24-03-28-44/115-2015-04-24-03-18-08/810-muhammadiyah-2558
ศอ.บต.รับสมัครคัดเลือกเพื่อรับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีขององค์กรศาสนาประเทศอินโดนีเซีย (Muhammadiyah) สำหรับนักเรียนมุสลิมใน จชต. ประจำปีการศึกษา 2558
ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน- 3 กรกฎาคม 2558
รายละเอียด คลิีกดู
http://www.sbpac.go.th/index.php/2014-11-27-04-12-16/2015-04-24-03-28-44/115-2015-04-24-03-18-08/810-muhammadiyah-2558
สช.แม่ลาน มอบจักรยานแก่นักเรียนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในสังกัด
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ นายมะยูนิ สามาลูกา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอแม่ลานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ในตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน เพื่อมอบจักรยานที่ ศอ.บต. จัดสรร ให้แก่นักเรียนในศูนย์ฯตาดีกา เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้เรียน
ครูรร.เอกชนเฮ เบิกค่าเรียนลูก ถึงป.ตรี2หมื่น/ปี
ครูรร.เอกชนเฮ เบิกค่าเรียนลูก ถึงป.ตรี2หมื่น/ปี
เมื่อวันที่ 28ต.ค.2556 นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 5/2556 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้เห็บชอบตามที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ เสนอเรื่องการให้เงินสวัสดิการสงเคราะห์การศึกษาบุตรของผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน ซึ่งจะให้ผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สามารถเบิกค่าเทอมบุตรได้ถึงระดับปริญญาตรี จากเดิมที่ให้เบิกได้เพียงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) โดยให้เบิกได้ไม่เกิน 3 คน คนละ ไม่เกิน 20,000บาทต่อปี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์กำหนด โดยหากศึกษาในสถานศึกษาของรัฐเบิกได้เต็มตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินปีละ 20,000 บาท แต่หากศึกษาในสถานศึกษาเอกชนให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินปีละ 20,000 บาท เช่นกัน
“สำหรับเงินที่จะนำมาใช้ในการจ่ายค่าเทอมนั้น มาจากดอกผลของกองทุนไม่ใช่เงินต้น ถือว่าเป็นการให้โอกาสและสวัสดิกาแก่รครูโรงเรียนเอกชนเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจที่ดีขึ้น และทำให้ครูอยากสอนโรงเรียนเอกชนมากขึ้นเพราะมีสวัสดิการใกล้เคียงกับภาครัฐ อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)จะต้องไปกำหนดระเบียบการเบิกจ่ายอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทราบว่าได้มีการยกร่างระเบียบไว้แล้ว”นางสุทธศรีกล่าวและว่า ก่อนหน้านี้ตนในฐานะประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ได้มอบให้ผอ.กองทุนฯ ไปพิจารณาเรื่องการบริหารกองทุนฯเชิงรุกให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีรายได้เข้ากองทุนมากขึ้นและสามารถจัดสวัสดิการดูแลครูโรงเรียนเอกชนได้ดียิ่งขึ้น
ปลัดศธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุม กช.ยังเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ เพื่อให้สถานศึกษาเอกชนกู้สำหรับการก่อสร้าง หรือซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน โดยเป็นการปรับแก้ประกาศที่ขยายขอบเขตการกู้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะเดิมไม่สามารถกู้เพื่อการซ่อมแซมอาคารเรียนได้ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนได้พัฒนาสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนต่อไป
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2556
งานวิจัยเรื่อง ศึกษาความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหาร รร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ศึกษาความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอยะรัง/แม่ลาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี
A Study of
teachers’ contentment to Administrative of
Islamic private scho administrators
in Yarang and
Maelan district under
the Office of Private Education Pattani Province
* นายมะยูนิ สามาลูกา
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อำเภอ ยะรัง / แม่ลาน
สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี
จำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดของโรงเรียน ใน 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคล และด้านการบริหารงานทั่วไป
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็น ครูผู้สอนในสถานศึกษาเอกชน จำนวน
111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง
ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
และการทดสอบค่าเอฟด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า
1.ความพึงพอใจของครูในการบริหารงาน
ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอง อำเภอ ยะรัง /
แม่ลานสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางยกเว้นด้านบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับน้อย
2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถาน
ศึกษา จำแนกตามเพศ โดยรวม
มีความพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายด้าน
พบว่าทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา
จำแนกตามอายุ
โดยรวมมีความพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงานทั่วไป
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
4.ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 |
5. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน
พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกด้าน และเมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่าครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง
และขนาดใหญ่
มีความพึงพอใจในการบริหารงานของผู้บริหารมากกว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ในทุกด้าน
คำสำคัญ :
ความพึงพอใจ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
*ครูชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอแม่ลาน
Abstract
The
study was aimed to investigate the comparison of teachers’ contentment to Administrative of Islamic private school administrators in Yarang and Maelan district under the Office
of Private Education Pattani Province. The study was sorted by, gender, age, and experience of teacher
toward their school’s administrations categorized in four aspects which
included: Academic, Budget, Personnel and General.
The
population in the study contains 111 academic teacher from numerous Islamic
Private School. Tools used for accumulating data were the rating scale
questionnaire with 5 levels. The statistics that implement data analyze were
Validity, Reliability, Percentage, Mean, standard deviation,
T-Test and F-test.
The study revealed:
1.
The
contentment of teacher toward their General
School administrations
was shown in average level. However, the contentment on Academic Administration
was shown in slight.
2.
The
contentment of teacher toward the school administration, sort by gender. It
showed no significance difference by the statistic level of 0.5 . When
investigated in each particular aspect, there was no significance difference by
the statistic level of 0.5 .
3.
The
contentment of teacher toward the school administrations, sort by age. It
showed no significance by the statistic level of 0.5 . When investigate in each
particular side, it found that there was a significance difference towards
general administration by the statistic level of 0.5 .
4.
The
contentment of teacher toward the school administration, sort by experience. It
showed that in each experience level would result in difference contentment and
there was a significance difference by the statistic level of 0.5 . When
investigate in each particular side, it found that there was a significance
difference towards general administration by the statistic level of 0.5
5.
The
contentment of teacher toward the school administration, sort by the size of
school, was shown in significance difference by the statistic level of 0.5 . In
each particular side, there was a significance difference by the statistic
level of 0.5 . However, after conducted dual test, it found that teacher from
large and medium school were satisfied by the school more than teacher from
small school in all aspects.